บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

พระอาจารย์ทอง สิริมังคโล




หนังสือ “มหาสติปัฏฐานสูตร” ของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) ที่แปลและเรียบเรียงโดยพระคัสธสาราภิวงศ์ แห่งวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปางฉบับ ทำขึ้นเพื่อฉลองวันคล้ายวันเกิดของพระอาจารย์ทอง สิริมังคโล (พระธรรมมังคลาจารย์) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร

พระธรรมมังคลาจารย์ (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) เป็นหัวหน้าพระวิปัสสนาจารย์หนเหนือ กองการวิปัสสนาธุระ ดังนั้น วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหารจึงเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานด้วย  

สิ่งที่น่าสนใจและควรนำมาวิพากษ์วิจารณ์เป็นอันดับแรกก็คือ คำอนุโมทนาของพระอาจารย์ทอง สิริมังคโล ที่เขียนไว้ในหนังสือดังกล่าว

หนังสือ “สติปัฏฐานสูตร” อันเป็นสูตรที่พระองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง เป็นหลักธรรมที่รวบรวมพระไตรปิฎกทั้งสิ้น พระไตรปิฎกรวมอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ทั้งหมดทั้งสิ้น

ดังนั้น หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่เป็นหัวใจปิฎก ผู้ที่ไม่ได้เรียนพระไตรปิฎก เรียนเล่มนี้ ที่อยู่ในมือท่าน ถือว่าเป็นคู่มือพร้อมที่จะชี้แนะแนวทางแห่งที่พระอริยเจ้าทั้งหลายได้ดำเนินไปแล้วสู่ มรรค ผล และนิพพานในที่สุด

ที่สุดนี้ อาตมาภาพขออ้างคุณพระศรีรัตนตรัย อานุภาพของพระบรมธาตุเจ้าศรีจอมทอง และพระสัทธรรมของสัมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดลบันดาลให้โยมทั้งหลาย บรรลุพระนิพพานโดยฉับพลัน เทอญ.

ข้อความข้างต้นนั้น รวบรวมความเข้าใจผิดของสาวกพระพม่าไว้เกือบทั้งหมด ซึ่งจะวิพากษ์วิจารณ์พอให้เป็นที่ประเทืองปัญญากัน ดังต่อไปนี้

ข้อความนี้
หนังสือ “สติปัฏฐานสูตร” อันเป็นสูตรที่พระองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

วิพากษ์วิจารณ์
ข้อความนี้ ผมไม่รู้จริงๆ ว่า พระอาจารย์ทอง สิริมังคโล ท่านเขียนทำไม  โดยความรู้พื้นฐานแล้ว พระสูตรในพระไตรปิฎกทุกพระสูตร พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองทั้งนั้น แล้วจึงทรงนำมาสั่งสอนพุทธศาสนิกชน

จะมีหรือ!! พระสูตรที่พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

ข้อความนี้
เป็นหลักธรรมที่รวบรวมพระไตรปิฎกทั้งสิ้น พระไตรปิฎกรวมอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ทั้งหมดทั้งสิ้น

วิพากษ์วิจารณ์
ข้อความนี้ เป็นเรื่องขึ้นมาทันที เพราะ เท่าที่อ่านหนังสือธรรมะมาตั้งแต่หัวดำ จนหงอกประปราย และหงอกเกือบไปทั้งหัว ณ ปัจจุบันนี้  ผมยังไม่พบในที่ใดเลย ที่กล้ากล่าวว่า “พระไตรปิฎกรวมอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ทั้งหมดทั้งสิ้น

ขอยกหลักฐานจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เพราะ มันค้นง่ายดี  คำว่า “โพธิปักขิยธรรม” วิกิพิเดียกล่าวไว้ดังนี้

โพธิปักขิยธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม 37 เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี 37 ประการคือ

สติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5
พละ 5
โพชฌงค์ 7
มรรคมีองค์ 8

โพธิปักขิยธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสามัคคีธรรมมี ๓๗ ประการคือ

๑. สติปัฏฐาน ฐานเป็นที่กำหนดของสติ ๑.๑ การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย (กายานุปัสสนา) ๑.๒ การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา (เวทนานุปัสสนา) ๑.๓ การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา) ๑.๔ การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม (ธรรมานุปัสสนา)

๒. สัมมัปปธาน หลักในการรักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม ๒.๑ การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน (สังวรปธาน) ๒.๒ การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน) ๒.๓ การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน (ภาวนาปธาน) ๒.๔ การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม้ให้เสื่อมไป (อนุรักขปธาน)

๓. อิทธิบาท เป้าหมายของความเจริญ ๓.๑ ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น (ฉันทะ) ๓.๒ ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น (วิริยะ) ๓.๓ ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ (จิตตะ) ๓.๔ ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น(วิมังสา)

๔. อินทรีย์ ๔.๑ ให้เกิดความเชื่อ (ศรัทธา) ๔.๒ ให้เกิดความเพียร (วิริยะ) ๔.๓ ให้เกิดความระลึกได้ (สติ) ๔.๔ ให้เกิดความตั้งมั่น (สมาธิ) ๔.๕ ให้เกิดความรอบรู้ (ปํญญา)

๕. พละ กำลัง ๕.๑ ความเชื่อ (ศรัทธา) ๕.๒ ความเพียร (วิริยะ) ๕.๓ ความระลึกได้ (สติ) ๕.๔ ความตั้งมั่น (สมาธิ) ๕.๕ ความรอบรู้ (ปํญญา)

๖. โพชฌงค์ องค์แห่งการตรัสรู้ ๖.๑ มีความระลึกได้ (สติ) ๖.๒ มีความพิจารณาในธรรม (ธัมมวิจยะ) ๖.๓ มีความเพียร (วิริยะ) ๖.๔ มีความอิ่มใจ (ปีติ) ๖.๕ มีความสงบสบายใจ (ปัสสัทธิ) ๖.๖ มีความตั้งมั่น (สมาธิ) ๖.๗ มีความวางเฉย (อุเบกขา)

๗. มรรค หนทางดับทุกข์ ๗.๑ ใช้เพื่อเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ (สัมมาทิฏฐิ) ๗.๒ ใช้เพื่อดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ) ๗.๓ ใช้เพื่อเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต(สัมมาวาจา) ๗.๔ ใช้เพื่อทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต (สัมมากัมมันตะ) ๗.๕ ใช้เพื่อทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด (สัมมาอาชีวะ) ๗.๖ ใช้เพื่อเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน (สัมมาวายามะ) ๗.๗ ใช้เพื่อระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔ (สัมมาสติ) ๗.๘ ใช้เพื่อตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ (สัมมาสมาธิ)

จะเห็นได้ว่า “โพธิปักขิยธรรม” นั้น พอที่จะกล่าวได้ว่า “พระไตรปิฎกรวมอยู่ในโพธิปักขธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น  แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน 4 แน่ๆ

หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งอยู่ใน “อานาปานสติสูตร” และหนังสือของสาวกของพระพม่าก็ชอบยกมาอ้างกันมาก คือ ข้อความนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

ในหนังสือเล่มนี้ ก็อ้างข้อความดังกล่าวแต่มาจาก “อุปริปัณณาสก์” มัชฌิมนิกาย  ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชา (มรรคญาณ ๔) และวิมุตติ (ผลญาณ ๔) ให้บริบูรณ์ได้ (หนังสือมหาสติปัฏฐานสูตร หน้า 67)

จากหลักฐานทั้ง 2 แห่งข้างต้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่สติปัฏฐาน 4 จะเป็นที่รวบรวมพระไตรปิฎกทั้งหมด

แล้วท่านที่อ่านหนังสือเล่มนี้ แต่เพียงเล่มเดียว จะไปนิพพานกันได้อย่างไร  ไม่ต้อง 7 ปี 7 เดือน 7 วันหรอก  อีก 7 ล้านชาติก็ไม่มีโอกาสไปนิพพานได้......



4 ความคิดเห็น:

  1. เป็นมิจฉาทิฐิแล้วอย่ามาเขียนด่าคนอื่นเขาเลยครับ โลกนี้วุ่นวายมากพอแล้ว

    ตอบลบ
  2. คนเขียนกระทู้นี้ขาดความรู้ด้านพระอภิธรรม
    วิจารณ์มั่วหมด ไม่รู้มีความรู้ด้านภาษาพระพุทธองค์แค่ไหน

    ตอบลบ
  3. คิดให้ดีก่อนวิจารณ์ มีสติระลึกรู้ ว่าผู้ปฏิบัติกับปริยัติมันต่างกัน อย่าวิจารณ์มั่ว แค่เด็กวัดคิดจะวิจารณ์สังฆราช ระวังนรกจะกินกบาล

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ที่เขียนไปข้างต้นนั้น มันผิดตรงไหนอย่างไร ขอให้แสดงเหตุผลออกมาให้ชัดเจน

      ลบ