บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

แค่คำนำก็แย่แล้ว [02]


วันนี้มาต่อเรื่อง “คำนำ” ในหนังสือ “มหาสติปัฏฐานสูตร” ของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) ที่แปลและเรียบเรียง โดยพระคันธสาราภิวงศ์ แห่งวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง กันต่อไป

การเจริญสติเป็นวิปัสสนาภาวนาเพราะเป็นการอบรมจิตเกิดวิปัสสนาญาณที่หยั่งเห็นไตรลักษณ์โดยประจักษ์

สติที่ซึมซับรับรู้สภาวธรรมอยู่เสมอ สามารถทลายกำแพงแห่งสมมุติบัญญัติ แล้วส่งผลให้หยั่งเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง

ในทางตรงกันข้าม สติที่เฝ้ากำหนดรู้สมมุติบัญญัติเช่น สติในสมถภาวนาที่กำหนดรู้วงกสิณ สติในการเรียนรู้ และสติในการคิดรู้ ย่อมไม่ก่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้ได้

พระมหาสมลักษณ์หรือพระคันธสาราภิวงศ์ก็เหมือนพระพม่าทั่วๆ ไป คือ รังเกียจสมถกรรมฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ คำสอนของท่านก็แสดงออกมาเช่นนั้น

ผมยังไม่ “เข้าใจ” ว่า ทำไมพระพม่าถึงรังเกียจสมถภาวนากันนักหนา เพราะ สมถภาวนาเป็นพื้นฐานของวิปัสสนาภาวนา ไม่ผ่านสมถภาวนาก็ไม่สามารถเข้าถึงวิปัสสนาภาวนาได้

พระมหาโชดกแห่งวัดมหาธาตุ รังเกียจสมถภาวนาถึงขนาด “ไม่ยอมทำ” กันเลยทีเดียว ดังนั้น สาวกของพระมหาโชดก “ทุกผู้ ทุกตัว ทุกหัว ทุกนาม” จึงไม่มีใครสามารถที่จะเข้าถึงวิปัสสนาภาวนาได้

ข้อเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนกับการศึกษาทางโลก การศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นพื้นฐานให้กับระดับมัธยมศึกษา พวกเราต้องผ่านการศึกษาระดับประถมศึกษามาก่อน ถึงจะเรียนมัธยมศึกษาได้

พวกพระพม่านั้น พอได้เข้าเรียนมัธยมศึกษาก็พากันรังเกียจประถมศึกษา ส่วนพระมหาโชดกนั้น จะเข้าเรียนมัธยมศึกษาโดยไม่ยอมผ่านประถมศึกษา

อย่างไรก็ดี พระมหาสมลักษณ์ก็ยังเขียนออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนว่าวิปัสสนาภาวนากับวิปัสสนาญาณนั้น เป็นคนละส่วนกัน ในข้อความที่ว่า “การเจริญสติเป็นวิปัสสนาภาวนาเพราะเป็นการอบรมจิตเกิดวิปัสสนาญาณ

ในกรณีนี้ พระมหาโชดกกับสาวกไม่สามารถทำให้เห็นได้ชัดเจน คือ ระหว่าง “วิปัสสนาภาวนา” กับ “วิปัสสนาญาณ” มหาโชดกกับสาวก “มั่ว” ไปหมด ไม่สามารถแยกออกให้เห็นชัดเจนได้

วิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมี 6 หัวข้อธรรมะใหญ่ๆ ดังนี้ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท 12

ญาณ16 และ วิปัสสนาญาณ 9 นั้น วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เขียนไว้ ดังนี้

ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีการบรรยายขั้นต่างของการวิปัสสนา เป็น 16 ขั้น หรือเรียกว่า ญาณ16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน คือ
1) นามรูปปริจเฉทญาณ
2) นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ
3) สัมมสนญาณ
4) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
5) ภังคานุปัสสนาญาณ
6) ภยตูปัฏฐานญาณ
7) อาทีนวานุปัสสนาญาณ
8) นิพพิทานุปัสสนาญาณ
9) มุจจิตุกัมยตาญาณ
10) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
11) สังขารุเบกขาญาณ
12) สัจจานุโลมิกญาณ
13) โคตรภูญาณ
14) มัคคญาณ
15) ผลญาณ
16) ปัจจเวกขณญาณ

แต่เมื่อกล่าวถึงวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ อันหมายถึงญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา จะมีเพียง 9 ขั้น คือ ตั้งแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ถึง สัจจานุโลมิกญาณ (ตามปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ขั้นหนึ่งใน วิสุทธิ 7) ที่บรรยายในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ นับรวม สัมมสนญาณ ด้วยเป็น 10 ขั้น)

[ในวิชาธรรมกาย วิปัสสนาญาณมี 10 โดยยึดถือตามคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ]

แต่อย่างไรก็ดี พระมหาสมลักษณ์ก็ยังเขียนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเข้าใจผิดของพระพม่า ในข้อความที่ว่า “การเจริญสติเป็นวิปัสสนาภาวนาเพราะเป็นการอบรมจิตเกิดวิปัสสนาญาณที่หยั่งเห็นไตรลักษณ์โดยประจักษ์

ตีความให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ พระมหาสมลักษณ์เห็นว่า ต้องปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ และ “หยั่งเห็น” พระไตรลักษณ์ “โดยประจักษ์

ที่เขียนว่าตีความให้ง่ายเข้านั้น ความจริงไม่ง่ายอย่างที่บอกไป เพราะ มันน่าสงสัยว่า ทำไมพระมหาสมลักษณ์จึงเลือกใช้คำว่า “หยั่งเห็น” เพราะ ในพระไตรปิฎกไม่มีคำนี้ ในพระไตรปิฎกมีแต่คำว่า “เห็น”

ผมค้นในกูเกิลพบว่า การหยั่งเห็น (Insight) เป็นคำในสาขาจิตวิทยา มีความหมายที่พอค้นได้ ดังนี้

การหยั่งเห็น (Insight) เป็นการรู้แจ้ง เกิดความคิดความเข้าใจแวบเข้ามาทันทีทันใดขณะที่บุคคลกำลังเผชิญปัญหาและจัดระบบการรับรู้ ซึ่งเดวิส (Davis, 1965) ใช้คำว่า Aha ' experience

การหยั่งเห็น (insight) เป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้น

การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (insight) ของโคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น เป็นการค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวมและการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของอบุคคลนั้นในการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่เผชิญ

จะเห็นได้ว่า พระมหาสมลักษณ์ไม่ได้ตีความว่า “เห็น” อย่างพระไตรปิฎกเสียแล้ว แต่ไปเลือกตีความเป็น “การหยั่งเห็น (insight) แบบจิตวิทยา แล้วพระพม่ากับสาวกจะไปนิพพานกันได้อย่างไร

สำหรับคำว่า “ประจักษ์” เว็บไซต์บ้านธัมมะ ได้ตอบคำถามที่ว่า “อย่างไรจึงจะเรียกว่าประจักษ์ จะทราบได้อย่างไรว่าประจักษ์แล้ว” ไว้ดังนี้

ความคิดเห็นที่ 1
คำว่า ประจักษ์ หมายถึง ปรากฏชัด แจ่มแจัง ฯ โดยทั่วไปหมายถึง วิปัสสนาปัญญา วิปัสสนาปัญญาย่อมประจักษ์แจ้ง ในนามธรรมและรูปธรรม ประจักษ์ในไตรลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม เช่นคำว่า สกฺขิ ชานามิ แปลว่า ย่อมรู้ประจักษ์ คือว่าย่อมรู้ประจักษ์ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด. ผู้ที่ประจักษ์ย่อมทราบชัดด้วยปัญญาของตนเอง

ความคิดเห็นที่ 2
ประจักษ์ คือ ปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นการรู้ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมที่กำลังปรากฎ ทีละอย่าง ทีละทวาร ไม่มีรูปร่างสันฐาน ไม่มีชื่อ ไม่มีความหมาย ไม่มีอะไรเลย นอกจากสี่งที่ปรากฎ ซึ่งเป็นสภาพไม่รู้หรือเป็นสภาพรู้เพราะเป็นปรมัตถธรรม คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เราเขา ที่สั้นแสนสั้นและเล็กน้อยมาก เพราะเป็นปริตตธรรม ประจักษ์หมายถึงรู้ชัด และวิปัสสนาญาณและปฎิเวธ เลยนะครับ

โดยสรุป สาวกพระพม่า ไม่ว่ากลุ่มใดก็มีแนวคิดที่ผิดๆ แบบเดียวกัน ขอยกการเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 อีกที  นักวิชาการที่เรียนมาทางตะวันตกแก้ปัญหาผิดพลาด และมีผู้วิพาษ์วิจารณ์ว่า นักวิชาการเหล่านั้น แก้ปัญหาเหมือนม้าแข่ง

คือ ม้าแข่งนั้น นอกจากจะวิ่งในลู่ของตนเองแล้ว ยังมีที่บังตาทั้ง 2 ข้างไว้อีก เพื่อไม่ให้เห็นลู่อื่นๆ มันถึงมืดบอกทางปัญญากันไปทั้งหมด นั่นแล.......



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น