บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

แค่คำนำก็แย่แล้ว [04]


วิพากษ์วิจารณ์ “คำนำ” ในหนังสือ “มหาสติปัฏฐานสูตร” ของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) ที่แปลและเรียบเรียง โดยพระคันธสาราภิวงศ์ แห่งวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง กันต่อไป เป็นบทความที่ 4

ต้นฉบับหนังสือ “มหาสติปัฏฐานสูตร” ฉบับแปลเล่มนี้ รจนาโดยพระโสภณามหาเถระ (มหาสีสยาดอ) อัครมหาบัณฑิต อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาสี จังหวัดย่างกุ้ง ประเทศเมียนม่าร์ รจนาจบเป็นภาษาพม่าใน พ.ศ. 2493 และจัดพิมพ์หลายครั้ง โดยกรมการศาสนาของพม่า ผู้แปลเห็นว่า เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการปฏิบัติบริบูรณ์มาก มีการอธิบายความในพระสูตร ตามแนวอธิบายของอรรถกถา และฏีกาในมหาสติปัฏฐานสูตร และพระสูตรอื่นที่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม

ข้อความข้างบนนั้น พระมหาสมลักษณ์หรือพระคันธสาราภิวงศ์เริ่มมั่วแล้ว เริ่มบิดๆ เบี้ยวๆ เป็นมดเขียว วี 3 แล้ว

ข้อความที่ว่า “ผู้แปลเห็นว่า เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการปฏิบัติบริบูรณ์มาก” นั้น ในย่อหน้าต่อมา ก็มีเนื้อความที่แย้งกันเองว่า “ข้อความบางแห่งในต้นฉบับภาษาพม่ายังไม่กระจ่างชัด

ตกลงแล้ว หนังสือมหาสติปัฏฐานสูตรของมหาสีสยาดอนี่ มีเนื้อหาสมบูรณ์ไปได้อย่างไร ในเมื่อคนไทยอย่างพระมหาสมลักษณ์ก็ยังพบข้อบกพร่อง หรือเป็นข้อบกพร่องของพระมหาสมลักษณ์เอง

พระมหาสมลักษณ์เขียนต่อมาว่า

จึงได้เขียนข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วนจากการศึกษาคัมภีร์เหล่านั้น เมื่อเรียบเรียงเป็นเล่มได้พบว่า มีเนื้อหาร้อยละ ๕๐ ที่คงตามคำอธิบายเดิมของต้นฉบับ

ถ้ารู้จักพระมหาสมลักษณ์เป็นการส่วนตัว ผมก็อยากจะบอกท่านว่า “หลวงพี่ การแต่งเติมเข้าไปร้อยละ 50 นั้น  ไม่ใช่บางส่วนแล้ว มันครึ่งหนึ่งทีเดียว”

อย่างไรก็ดี พระมหาสมลักษณ์ยังสร้างความสับสนให้กับผมอีก ที่เขียนต่อมาในอีกหน้าหนึ่งว่า “คำอธิบายในเล่มนี้ แม้จะมีมากกว่าต้นฉบับถึงสองเท่า

อ้าว... ตกลงแล้ว หลวงพี่แต่งเติมเข้าไปร้อยละ 200 เชียวนะ หลวงพี่

ที่ผมชอบใจมากที่สุดก็คือ ข้อความที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เพราะ เป็นข้อความที่สนับสนุนคำวิพากษ์วิจารณ์ของผม

ผมวิพากษ์วิจารณ์คำสอนของสายยุบหนอพองหนอมานานแล้วว่า “ไม่มีอะไร” มีเพียงแค่ การเดินจงกรมไปมา ตั้งสติอยู่กับอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย  แล้วก็คิดไปอย่างนักปรัชญาว่า ร่างกายของเราเป็นอนัตตา  มีเท่านี้  ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้

ที่ผมสามารถวิพากษ์วิจารณ์ไปอย่างนั้น เพราะ จากการอ่านและวิเคราะห์ล้วนๆ เนื่องจากไม่เคยอ่านต้นฉบับภาษาพม่า เพราะอ่านภาษาพม่าไม่ได้  ต้นฉบับภาษาอังกฤษก็ไม่น่าจะได้อ่าน  ได้อ่านเฉพาะหนังสือของลูกศิษย์ของพระมหาสีสยาดอที่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ เท่านั้น

ข้อความที่ว่ามีดังนี้

ท่านผู้แต่งได้อธิบายหมวดอาปานะ หมวดอิริยาบถ และหมวดสัมปชัญญะโดยละเอียด แต่อธิบายหมวดอื่นโดยย่อ

ก็แสดงว่า พระมหาสีสยาดอเขียนตำราไว้แค่นั้น ไม่ได้อธิบายสติปัฏฐานสูตรไว้ทั้งหมด  ผมจึงถึงบางอ้อว่า... ถึงว่า สาวกสายยุบหนอพองหนอถึงอธิบายสติปัฏฐานสูตร “มั่ว” ไปหมด หาหลักวิชาการไม่ได้  มีแต่ “หลักกู” กันทั้งนั้น

ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

ขออธิบายในฐานะที่เรียนทฤษฎีต่างๆ มามาก

ในการตั้งทฤษฎีอะไรขึ้นมานั้น  เจ้าของทฤษฎีจะต้องมีการปรับปรุงทฤษฎีของตนตลอดเวลา จนกว่าทฤษฎีนั้นจะตกผลึก  ซึ่งก็หมายความว่า  ทฤษฎีต่างๆ ที่มีคนคิดขึ้นนั้น  ไม่ใช่สมบูรณ์มาเลยตั้งแต่ตั้ง   แต่จะต้องมีการพัฒนาแก้ไข ปรับปรุง จากการทดลองใช้ การวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม

ในทางศาสนาก็เช่นเดียวกัน  เจ้าสำนักต่างๆ เมื่อเริ่มเผยแพร่ทฤษฎีของท่าน เช่น ฤาษีลิงดำ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พุทธทาสภิกขุ เป็นต้น ก็ต้องปรับปรุงแก้ไขไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตกผลึก

ในฐานะที่เป็นวิทยากรสอนวิชาธรรมกาย  ตอนที่หลวงพ่อวัดปากน้ำค้นวิชาธรรมกายได้ใหม่ๆ กายต่างๆ จำนวน 18 กายนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำค้นพบเพียง 5 กายเท่านั้น คือ
1) กายมนุษย์
2) กายทิพย์
3) กายปฐมวิญญาณหยาบ
4) กายปฐมวิญญาณละเอียด
5) ธรรมกาย

สำหรับดวงธรรม ซึ่งตอนนี้มี 6 ดวงนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำคนพบเพียง 3 ดวง คือ
1) ดวงปฐมมรรค
2) ดวงทุติยมรรค
3) ดวงตติยมรรค

หลวงพ่อวัดปากน้ำใช้เวลาพัฒนาวิชาธรรมกายมาตลอดชีวิตของท่าน ในหนังสือคู่สมภาร ปี พ.ศ. 2499 หลวงพ่อยังนับกายต่างๆ เป็นยี่สิบกว่ากายก็ยังมี

ขออธิบายเพิ่มเติมว่า ตอนนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำค้นพบ 18 กายแล้ว  แต่กายพระอรหัตละเอียดนั้น ท่านนับซ้ำกันเป็นยี่สิบกว่ากาย

ในกรณีของพระมหาสีสยาดอนั้น ผมสันนิษฐานว่า พอท่านคิดวิธีการปฏิบัติแบบยุบหนอพองหนอขึ้นได้  บังเอิญดังขึ้นมา  ท่านก็เลยไม่มีเวลาพัฒนาทฤษฎีต่อไปอีก  ก็ทำแค่นี้ “ยังดัง” แล้วจะทำต่อไปทำไม

ข้อความของผมนั้น มีหลักฐานยืนยันจากข้อเขียนของพระมหาสมลักษณ์เอง ที่พยายามเขียนแก้ตัวออกมาว่า

แนวปฏิบัติแบบ “พองยุบ” ที่กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ เป็นวิธีเจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างบริบูรณ์ มิใช่เน้นการกำหนดรู้สภาวะพองยุบอย่างเดียว

ขอย้ำอีกว่า การปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอนั้น เป็น “การกำหนดรู้สภาวะพองยุบอย่างเดียว” อย่างอื่นไม่ใช่ เพราะ สติปัฏฐาน 4 ต้องมี “การเห็น” ไม่เห็นไม่ใช่สติปัฏฐาน

สุดท้ายเลยของการวิพากษ์วิจารณ์คำนำของพระมหาสมลักษณ์ก็คือ ข้อความของพระมหาสมลักษณ์เองที่ว่า

การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ในปัจจุบันมีหลายแนวทาง และมีขั้นตอนการปฏิบัติต่างกัน ผู้แปลเห็นว่า แนวทางที่นิยมอ้างอิงจากข้อความที่พบในมหาสติปัฏฐานสูตร แล้วตีความตามความเข้าใจกันนั้น ไม่สอดคล้องกับคำอธิบายากอรรถกถาและฎีกา และอาจไมใช่แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง

คือ ผมสงสัยว่า พระมหาสมลักษณ์รู้ตัวหรือยังว่า ท่านเองนั่นแหละอยู่ในกลุ่มของพวกมั่ว พวกไม่ถูกต้อง...........




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น