บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

แค่คำนำก็แย่แล้ว[ 01]



หนังสือ “มหาสติปัฏฐานสูตร” ของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) ทำขึ้นเพื่อฉลองวันคล้ายวันเกิดของพระอาจารย์ทอง สิริมังคโล (พระธรรมมังคลาจารย์) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร ผู้แปลและเรียบเรียง คือ พระคันธสาราภิวงศ์ แห่งวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง
 

 พระคันธสาราภิวงศ์หรือพระมหาสมลักษณ์ คันธสาโร (ศุภสถาพร) มีคุณวุฒิและคุณสมบัติ ดังนี้

อายุ 50 พรรษา 29 วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ.8, เจติยังคณะคณวาจก ธรรมาจริยะ และสาสนธชธรรมาจริยะ (เทียบเท่า ป.ธ. 9 ของประเทศไทย) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ฝ่ายการศึกษาและผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ในกรณีนี้ คำสอนของสายยุบหนอพองหนอที่มาจากวัดท่ามะโอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระมหาสมลักษณ์ คันธสาโร รูปนี้ น่าจะตรงกับคำสอนของพม่ามากที่สุด  มากกว่าสาวกของมหาโชดก ซึ่งดัดแปลงเป็น “พากษ์ไทย” ไปมากแล้ว

พระมหาสมลักษณ์มีผลงานเป็นตำรับตำรามากพอสมควร สามารถกล่าวได้ว่า ความรู้ของท่านในด้านปริยัติธรรมมีมาก 

แต่อย่างไรก็ดี  ใครก็ตามไม่ว่าจะฉลาดอย่างไร แต่เมื่อไปเรียนในพม่าและมีความเชื่อพระพม่า ความคิดความอ่านก็ไปทำนองนั้น คือ เหมือนพระพม่าไปทั้งหมด

ปรากฎการณ์นี้ก็เกิดในเมืองไทยมาแล้ว เมื่อตอนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540  พวกที่เรียนมาจากอเมริกาส่วนใหญ่ก็แก้ปัญหาแบบที่ได้ร่ำเรียนมา  ผลก็คือ เศรษฐกิจฉิบหายวายป่วงไปไม่รู้ว่า เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่

เมื่อเปรียบเทียบกับมหาเธร์ ผู้นำของมาเลเซียในช่วงนั้น ปฏิเสธองค์ความรู้ของอเมริกา มหาเธร์เลยโดดเด่นตั้งแต่นั้นมา  สำหรับนักการเมืองชาวไทย ก็ตกอับหายหน้าไปจากการเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พระมหาสมลักษณ์เริ่มคำนำของหนังสือไว้ดังนี้

การเจริญสตินับเป็นอุบายวิธีดับทุกข์ด้วยการระลึกรู้สภาวธรรมปัจจุบันอันมีเพียงกายและใจ ซึ่งเป็นสิ่งไม่พึงยึดมั่น เมื่อบุคคลรับรู้ว่า กายและใจนี้ ดำรงอยู่ชั่วขณะตามเหตุปัจจัยโดยไม่มีรูปร่างถาวรที่ยึดถือได้ว่าเป็นเรา ของเรา บุรุษ หรือสตรี ก็จะหยั่งเห็นธรรมชาติของกายใจ ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน จิตของเขาย่อมเป็นอิสระจากทุกข์และกิเลสได้อย่างแท้จริง

หลักชัยของศาสนาพุทธคือ การดับทุกข์ และมีนโยบายหลักคือ การเจริญสติ ธรรมชาติในตัวมนุษย์มีขุมทรัพย์คือ อริยสัจ ๔ ซ่อนอยู่ภายในร่างกายที่ยาววา หน้าคืบ กว้างศอก และมีใจครอง การดำเนินตามคำสอนในพระสูตรนี้ ด้วยวิธีการเจริญสติเป็นหลัก ทำให้ได้ค้นพบประจักษ์แจ้งอริยสัจด้วยประสบการณ์ของตน ภายใต้ศักยภาพของมนุษย์เพื่อดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยไม่ขึ้นอยู่กับดวงดาวหรืออำนาจเหนือมนุษย์ใดๆ

ข้อความทั้งหมดนั้น รวบรวมความคิด หลักการ หลักปฏิบัติของพระพม่าไว้เกือบทั้งหมด พระพม่า สาวกพระพม่า “เข้าใจผิด” อยู่แค่นั้น ไม่ได้ทำอะไรให้มากไปกว่านั้น

สาวกของพระพม่าที่เป็นคนไทย ก็มีแต่ศรัทธาความเชื่อแบบมืดบอด คือ นึกอยากจะศรัทธาใคร ก็ศรัทธาไป  ไม่มีความคิด หรือเหตุผลที่จะวิเคราะห์ว่า สิ่งที่ตนเองเลือกเชื่อนั้น มันเป็น “ของจริง” หรือไม่

ย่อหน้าข้างบนนั้น ว่ากันตามหลักวิชาการ  แต่ถ้าว่ากันตามหลักศาสนาแล้ว  พวกนี้ต้องทำกรรมร่วมกันมา  ชาตินี้จึงต้องมารับกรรมร่วมกันอีก  คือ ไปพบสิ่งที่ไม่ใช่ของจริงก็เชื่อตามกันไป ของจริงๆ กลับไม่เชื่อ

ข้อความนี้
การเจริญสตินับเป็นอุบายวิธีดับทุกข์ด้วยการระลึกรู้สภาวธรรมปัจจุบันอันมีเพียงกายและใจ ซึ่งเป็นสิ่งไม่พึงยึดมั่น เมื่อบุคคลรับรู้ว่า กายและใจนี้ ดำรงอยู่ชั่วขณะตามเหตุปัจจัยโดยไม่มีรูปร่างถาวรที่ยึดถือได้ว่าเป็นเรา ของเรา บุรุษ หรือสตรี ก็จะหยั่งเห็นธรรมชาติของกายใจ ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน จิตของเขาย่อมเป็นอิสระจากทุกข์และกิเลสได้อย่างแท้จริง

วิพากษ์วิจารณ์
ข้อความนี้ ก็ยืนยันข้อเขียนของผม ซึ่งเขียนไปแล้วหลายครั้งว่า พระพม่าเดินจงกรมไปมา พิจารณาสติให้เป็นปัจจุบัน  หรือที่พระมหาสมลักษณ์ว่า “การเจริญสติ” พิจารณาพระไตรลักษณ์ แล้วก็จะไปนิพพานได้ภายใน 7 ปี 7 เดือน 7 วัน

พระพม่าไม่เคยเขียนอธิบายว่า “วิชชา 3” นั้นทำอย่างไร  พระพม่าไปเคยเขียนเรื่องบารมี 30 ทัศ ไม่รู้ว่าพระพม่านี่ จะเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดหรือไม่

ไม่มีที่ใดในพระไตรปิฎกที่อธิบายว่า เมื่อพิจารณาพระไตรลักษณ์แล้ว จะทำให้ไปนิพพานได้ แม้กระทั่งสติปัฏฐานสูตรเองก็ตาม ในตอนท้ายพระสูตรไม่มีข้อความที่ว่า พระภิกษุที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนอยู่นั้น บรรลุอรหันตผล  แต่พระสูตรอื่นๆ หลายพระสูตรมีข้อความดังกล่าว

แล้วการพิจารณาพระไตรลักษณ์ รวมถึงสติปัฏฐานสูตรเอง จะทำให้คนเรียนบรรลุพระอรหันต์ได้อย่างไร

นี่เป็นการกล่าวตู่พระพุทธพจน์ของพระพม่า  ถึงว่า มหาสีสยาดอตายแล้วถึงไปอบายภูมิ

ข้อความนี้
หลักชัยของศาสนาพุทธคือ การดับทุกข์ และมีนโยบายหลักคือ การเจริญสติ ธรรมชาติในตัวมนุษย์มีขุมทรัพย์คือ อริยสัจ ๔ ซ่อนอยู่ภายในร่างกายที่ยาววา หน้าคืบ กว้างศอก และมีใจครอง

วิพากษ์วิจารณ์
จะเห็นว่า มีข้อความ “การเจริญสติ” อีกแล้ว  คำนี้เป็นปัญหายอกอกของพระพม่า คนที่ไม่มีปัญหาอาจจะรู้ไม่ทัน

ในศาสนาพุทธนั้น “สติ” นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอยู่แล้ว เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติธรรมทั้งปวง ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติประกอบอยู่ทุกหัวข้อธรรมะ

๑. สติปัฏฐาน ฐานเป็นที่กำหนดของสติ ๑.๑ การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย (กายานุปัสสนา) ๑.๒ การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา (เวทนานุปัสสนา) ๑.๓ การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา) ๑.๔ การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม (ธรรมานุปัสสนา)

๒. สัมมัปปธาน หลักในการรักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม ๒.๑ การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน (สังวรปธาน) ๒.๒ การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน) ๒.๓ การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน (ภาวนาปธาน) ๒.๔ การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป (อนุรักขปธาน)

๓. อิทธิบาท เป้าหมายของความเจริญ ๓.๑ ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น (ฉันทะ) ๓.๒ ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น (วิริยะ) ๓.๓ ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ (จิตตะ) ๓.๔ ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น(วิมังสา)

๔. อินทรีย์ ๔.๑ ให้เกิดความเชื่อ (ศรัทธา) ๔.๒ ให้เกิดความเพียร (วิริยะ) ๔.๓ ให้เกิดความระลึกได้ (สติ) ๔.๔ ให้เกิดความตั้งมั่น (สมาธิ) ๔.๕ ให้เกิดความรอบรู้ (ปํญญา)

๕. พละ กำลัง ๕.๑ ความเชื่อ (ศรัทธา) ๕.๒ ความเพียร (วิริยะ) ๕.๓ ความระลึกได้ (สติ) ๕.๔ ความตั้งมั่น (สมาธิ) ๕.๕ ความรอบรู้ (ปํญญา)

๖. โพชฌงค์ องค์แห่งการตรัสรู้ ๖.๑ มีความระลึกได้ (สติ) ๖.๒ มีความพิจารณาในธรรม (ธัมมวิจยะ) ๖.๓ มีความเพียร (วิริยะ) ๖.๔ มีความอิ่มใจ (ปีติ) ๖.๕ มีความสงบสบายใจ (ปัสสัทธิ) ๖.๖ มีความตั้งมั่น (สมาธิ) ๖.๗ มีความวางเฉย (อุเบกขา)

๗. มรรค หนทางดับทุกข์ ๗.๑ ใช้เพื่อเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ (สัมมาทิฏฐิ) ๗.๒ ใช้เพื่อดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ) ๗.๓ ใช้เพื่อเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต(สัมมาวาจา) ๗.๔ ใช้เพื่อทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต (สัมมากัมมันตะ) ๗.๕ ใช้เพื่อทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด (สัมมาอาชีวะ) ๗.๖ ใช้เพื่อเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน (สัมมาวายามะ) ๗.๗ ใช้เพื่อระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔ (สัมมาสติ) [ข้อความนี้ของวิกิพิเดีย สาวกของพระพม่าน่าจะเขียน จริงๆ สัมมาสติต้องไม่ใช่สติปัฏฐาน ๔ เพราะหัวข้อธรรมะจะซ้ำกันไม่ได้] ๗.๘ ใช้เพื่อตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ (สัมมาสมาธิ)

จะเห็นว่าโพธิปักขิยธรรม 7 หัวข้อ มี “สติ” ทุกข้อ ยกเว้น สัมมัปปธาน ที่ไม่มีหัวข้อ “สติ” แต่ทั้ง 4 หัวข้อนั้น ต้องมีสติกำกับไม่อย่างนั้น ธรรมะไม่เกิดขึ้นแน่

โดยสรุป โพธิปักขิยธรรม 7 หัวข้อ มี “สติ” ทุกหัวข้อ  ทำไมพระพม่าชูแต่ “สติ” ของสติปัฏฐาน 4  “สติ” ของสติปัฏฐาน 4 เป็นเพียง “สติ” ที่เป็นพื้นฐานเท่านั้น


ข้อความนี้ ก็ยืนยันข้อเขียนของผม ซึ่งเขียนไปแล้วหลายครั้งว่า พระพม่าเดินจงกรมไปมา พิจารณาสติให้เป็นปัจจุบัน  หรือที่พระมหาสมลักษณ์ว่า “การเจริญสติ” พิจารณาพระไตรลักษณ์ แล้วก็จะไปนิพพานได้ภายใน 7 ปี 7 เดือน 7 วัน

ข้อความนี้
การดำเนินตามคำสอนในพระสูตรนี้ ด้วยวิธีการเจริญสติเป็นหลัก ทำให้ได้ค้นพบประจักษ์แจ้งอริยสัจด้วยประสบการณ์ของตน ภายใต้ศักยภาพของมนุษย์เพื่อดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยไม่ขึ้นอยู่กับดวงดาวหรืออำนาจเหนือมนุษย์ใดๆ

วิพากษ์วิจารณ์
ข้อความนี้ พระมหาสมลักษณ์เอาอริยสัจ 4 มาเขียนเฉยๆ แล้วบอกว่า เจริญสติในสติปัฏฐาน 4 ก็จะบรรลุอริยสัจ 4 ได้ ถ้าเป็นอย่างที่พระมหาสมลักษณ์เขียนไว้ พระพม่าคงเป็นพระอรหันต์กับเกือบทั้งประเทศ 

สุดท้ายเลยคือข้อความที่ว่า “ภายใต้ศักยภาพของมนุษย์เพื่อดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยไม่ขึ้นอยู่กับดวงดาวหรืออำนาจเหนือมนุษย์ใดๆ” ข้อความนี้ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า พระพม่าไม่เชื่อการปฏิบัติธรรมในพระไตรปิฎ

ข้อความดังกล่าวนั้น เป็นข้อความของนักปริยัติ  ที่ไม่เชื่อเรื่องตายแล้วเกิด ไม่เชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องบุญบารมี 

ผมจึงบอกไปแล้วหลายครั้งว่า การพิจารณาพระไตรลักษณ์ระหว่างเดินไปเดินมา สติอยู่กับอิริยาบทใหญ่ อิริยาบถย่อยนั้น  เป็นการคิดแบบนักปรัชญา คิดกันอย่างนักวิชาการทางโลก  ไม่ใช่ “ญาณทัสสนะ” ในพระพุทธศาสนา .................




8 ความคิดเห็น:

  1. “ภายใต้ศักยภาพของมนุษย์เพื่อดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยไม่ขึ้นอยู่กับดวงดาวหรืออำนาจเหนือมนุษย์ใดๆ” ข้อความนี้ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า พระพม่าไม่เชื่อการปฏิบัติธรรมในพระไตรปิฎก>>>>>>งงครับอาจารย์มนัส ไหมถึงบอกว่าไม่เชื่อละครับ หรือว่าจริงๆแล้ว การค้นพบประจักษ์แจ้งอริยสัจด้วยประสบการณ์ของตนนั้นขึ้นอยู่กับดวงดาวหรืออำนาจเหนือมนุษย์???

    ตอบลบ
  2. สำนวนที่ว่า “ภายใต้ศักยภาพของมนุษย์เพื่อดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยไม่ขึ้นอยู่กับดวงดาวหรืออำนาจเหนือมนุษย์ใดๆ” เป็นสำนวนของนักปริยัติที่ไม่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ไม่เชื่อในระบบ 31 ภูมิของศาสนา พวกนี้ส่วนใหญ่เชื่อว่า "มนุษย์ตายแล้วเกิดครั้งเดียวตามวิทยาศาสตร์"

    โดยปกติแล้ว นักปฏิบัติธรรมจะต้องเชื่อเรื่อง "กฎแห่งกรรม" (คำนี้ ก็ได้อิทธิพลจากวิทยาศาสตร์) ตายแล้วเกิด การสร้างบารมีอย่างนับภพนับชาติไม่ถ้วน

    พระพม่าสอนคล้ายกับปรัชญามนุษยนิยม คือ ในความสำคัญกับมนุษย์ ไม่เชื่อเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ใดๆ

    คุณอย่าเอาไปปนกับไสยศาสตร์หรือดาราศาสตร์ ศาสนาพุทธมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนา ซึ่งก็คือ "จักรพรรดิ"

    พระพม่ากลุ่มที่เป็นสาวกของมหาสีสยาดอไม่เชื่อเรื่องนี้ จะเห็นว่า พระพม่าไม่เคยเอ่ยถึงเรื่องบารมี 30 ทัศ พระพม่าจึง "ชอบ" สติปัฏฐาน 4 เพราะ มีข้อความที่ว่า "สามารถบรรลุพระอริยบุคคลภายใน 7 ปี 7 เดือน 7 วัน"

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  5. คนเขียนกระทู้ไม่มีความรู้ด้านพระอภิธรรม
    วิจารณ์เขามั่วไปหมด ไม่รู้มีความรู้ด้านภาษาพระพุทธองค์แค่ไหน

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  7. พระพม่า พระไทย พระศรีลังกา พระลาวหรือจะมาจากเชื้อชาติอื่นใด หรือแม้แต่พระมหายาน ถ้าเจริญสติถูกต้องก็บรรลุธรรมได้ทุกองค์นั่นแหละไม่ว่าจะเรียนวิปัสสนาสำนักไหนก็ตาม และก็มีหลงผิดทุกๆประเทศทุกนิกายขึ้นกับบารมีเก่าด้วยซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เรื่องสำนักไหนผิดหรือถูกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรวิจารณ์ โดยเฉพาะการวิจาร์ณที่ว่าสำนักนี้ถูกหรือสำนักนี้ผิด สำนักนี้บรรลุได้ สำนักนี้บรรลุไม่ได้ มันเป็นบาปเป็นกรรมเปล่า

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ8 เมษายน 2567 เวลา 03:27

    คนเขียนต้องการโจมตีพระอาจารย์ เป็นตัวบุคคล โดยนำศาสนามาเกี่ยว บาปเหลือเกิน

    ตอบลบ